วันอาทิตย์ที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2551

สำเภางาม


วงศ์ย่อย : Vandoideae
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Cymbidium insigne Rolfe
ชื่อไทย : สำเภางาม
ชื่ออื่น :
ต้น : เป็นกล้วยไม้ดินขนาดใหญ่ ต้นสั้นมีใบหุ้ม
ราก : รากใหญ่ออกที่โคนต้นเป็นกระจุก
ใบ : ใบเป็นแถบยาว ค่อนข้างบาง ผิวใบมันเล็กน้อย ขนาดใบกว้าง 2 - 3 ซม. ยาว 50 - 100 ซม.
ดอก : ก้านช่อดอกแข็งและเหนียว ยาวกว่าใบเล็กน้อย ดอกเกิดค่อนไปทางปลายช่อที่ตั้งตรงหรือทอดเอนลง ดอกบานทนและทยอยบานเป็นเวลานาน ขนาดดอก 5 - 6 ซม. ดอกบานใหม่กลีบปากสีอ่อน แล้วเข้มขึ้นในวันต่อๆมา สำเภางามเป็นกล้วยไม้ที่มีลักษณะสวยงามมาก
ฤดูดอก : ธันวาคม - เมษายน
แหล่งที่พบในประเทศไทย : พบเฉพาะตามภูเขาที่สูงจากระดับน้ำทะเล 1,000 เมตรขึ้นไป ทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
เขตการกระจายพันธุ์ : อินเดียตะวันออกเฉียงเหนือ เวียดนาม และจีน

สิงโตสยาม


วงศ์ย่อย : Epidendroideae
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Bulbophyllum siamense Rchb. f.
ชื่อไทย : สิงโตสยาม
ชื่ออื่น : ลิ้นฟ้า
ต้น : เป็นกล้วยไม้อิงอาศัยขนาดกลาง ลำลูกกล้วยรูปไข่ กว้าง 2 ซม. สูง 3 - 3.5 ซม.เรียงตัวค่อนข้างห่างบนเหง้าขนาดใหญ่ มีขนเป็นเส้นตรงยาวรอบโคน
ใบ : ใบรูปแถบแกมรูปรี ปลายใบแหลมหรือมน แผ่นใบหนาและเหนียว มี 1 ใบต่อลำลูกกล้วย ใบกว้าง 2.5 - 4 ซม. ยาว 12 - 18 ซม.
ดอก : ดอกเดี่ยวออกจากโคนต้น บางครั้งพบออกจากเหง้า ก้านดอกยาว 4 - 7 ซม. กลีบเลี้ยงและกลีบดอกสีเหลือง มีขีดตามยาวสีม่วงอมแดง กลีบปากสีเหลือง มีประสีม่วงอมแดง และแต้มกลมสีเหลืองเข้ม ขนาดดอก 4 - 6 ซม.
ฤดูดอก : พฤศจิกายน - มีนาคม
แหล่งที่พบในประเทศไทย : ตามป่าดิบเขา ที่สูงจากระดับน้ำทะเล 500 - 1,300 เมตร เกือบทุกภาค ยกเว้นภาคกลาง
เขตการกระจายพันธุ์ : อินเดีย และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

เอื้องงตาเหิน


วงศ์ย่อย : Epidendroideae
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Dendrobium infundibulum Lindl.
ชื่อไทย : เอื้องตาเหิน
ชื่ออื่น :
ต้น : เป็นกล้วยไม้อิงอาศัย ขึ้นเป็นกอ ต้นทรงกระบอก ยาว 25 - 40 ซม. ผิวเป็นสันและมีร่องตื้นตามยาว ผิวมีขนสั้นสีดำ ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางต้น 0.5 - 0.7 ซม.
ใบ : ใบรูปรีแกมรูปขอบขนาน กว้าง 1.5 - 2 ซม. ยาว 7 - 10 ซม. ใบมีขนสีดำ
ดอก : ดอกออกเป็นช่อตามข้อใกล้ยอด จำนวนดอกในช่อ 1 - 3 ดอก ดอกบานเต็มที่ กว้าง 5 - 7 ซม. กลีบเลี้ยงและกลีบดอกสีขาว กลีบปากสีขาวมีแต้มสีเหลืองเข้มหรือสีส้มที่กลางกลีบปาก ดอกบานทนประมาณ 1 เดือน
ฤดูดอก : พฤศจิกายน - มีนาคม
แหล่งที่พบในประเทศไทย : ป่าดิบแล้งที่สูงจากระดับน้ำทะเล 1,000 เมตรขึ้นไป ทางภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคตะวันตก
เขตการกระจายพันธุ์ : อินเดีย พม่า และลาว

เอื้องสีตาล




วงศ์ย่อย : Epidendroideae
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Dendrobium heterocarpum Lindl.
ชื่อไทย : เอื้องสีตาล
ชื่ออื่น : เอื้องแซะดง เอื้องสีจุน
ลักษณะ : เป็นกล้วยไม้ประเภทอิงอาศัย
ต้น : ต้นทรงกระบอกโคนและปลายสอบเล็กน้อย ลำต้นมีทั้งสั้นและยาว ขึ้นเป็นกระจุกตั้งขึ้นหรือทอดเอน ห้อยลง เส้นผ่าศูนย์กลางต้น 0.8 - 1 ซม. ยาว 15 - 20 ซม.
ใบ : ใบรูปใบหอก ปลายใบแหลมหยักเว้าไม่เท่ากัน แผ่นใบบางและร่วงไปเมื่อต้นเจริญเต็มที่ มี 2 - 4 ใบ ต่อต้น ขนาดใบ กว้าง 1.2 -2.5 ซม. ยาว 8 - 12 ซม.
ดอก : ช่อดอกเกิดตามข้อใกล้ยอด ช่อค่อนข้างสั้น มีต้นละ 2 - 3 ช่อ จำนวนดอกในช่อ 1-3 ดอก ก้านดอกยาว 2 - 3 ซม. ดอกมีกลิ่นหอมเย็นและบานทนหลายสัปดาห์ดอกสีเหลืองนวลแกมน้ำตาล สีของดอกจะเข้มขึ้นตามอายุของดอก กลีบปากด้านบนมีขนกำมะหยี่นุ่ม ขนาดดอก กว้างประมาณ 3-4 ซม.
ฤดูดอก : ธันวาคม - กุมภาพันธ์
แหล่งที่พบในประเทศไทย : ป่าดิบที่สูงจากระดับน้ำทะเลมากกว่า 1,000 เมตรขึ้นไป เชียงใหม่ แม่ฮ่องสอน น่าน เลย นครราชสีมา พังงา