วันอังคารที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2551

เอื้องตาลหิน


วงศ์ย่อย : Epidendroideae
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Eria discolor Lindl.
ชื่อไทย : เอื้องตาลหิน
ต้น : เป็นกล้วยไม้อิงอาศัย ลำลูกกล้วยเป็นหัวรูปรี โคนเรียวสอบและมีโคนกาบใบคลุม ปลายเรียว ผิวแห้งเป็นร่อง สีเขียวหม่นหรือเขียวอมน้ำตาล เส้นผ่าศูนย์กลางต้น 2 - 2.5 ซม. สูง 10 - 16 ซม. เรียงตัวบนเหง้าเป็นระยะห่างกัน 8 - 15 ซม. เหง้าเป็นเส้นกลมแข็ง เส้นผ่าศูนย์กลาง 0.4 - 0.6 ซม.
ใบ : ใบรูปรีแกมรูปขอบขนาน แผ่นใบค่อนข้างหนาและเหนียว ผิวใบมัน ปลายมนเว้าตื้นๆ มี 4 - 6 ใบต่อลำลูกกล้วย ใบเกิดใกล้ยอด ขนาดใบ กว้าง 3 - 4 ซม. ยาว 10 - 17 ซม.
ดอก : ช่อดอกออกตามข้อใกล้ยอด มี 2 - 5 ช่อ มีขนละเอียดสีน้ำตาลอ่อนตลอดช่อ ก้านและแกนช่อตรง ยืดตัวบานไปเรื่อยๆจนดอกบานหมด ทั้งช่อยาว 10 - 15 ซม. ดอกทยอยบานคราวละ 1 ดอก ใบประดับเล็กๆยังคงติดอยู่ที่แกนดอก ก้านดอกยาว 1.5 - 2 ซม. ขนาดดอกประมาณ 1.5 ซม. ผิวกลีบมีขนสั้นๆละเอียดคลุม กลีบปากสีม่วงแดงเข้ม
ฤดูดอก : มกราคม - เมษายน
แหล่งที่พบในประเทศไทย : ป่าดิบแล้งและป่าเบญจพรรณทางภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออก และภาคใต้
เขตการกระจายพันธุ์ : สิกขิม อินเดีย ลาว เวียดนาม มาเลเซีย และสุมาตรา

เอื้องคำหิน


วงศ์ย่อย : Epidendroideae
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Eria lasiopetala ( Willd ) Omerod
ชื่อพ้อง 1: Eria pubescens ( Hook) Steud.
2: Eria albidotomentosa ( Blume ) Lindl.
ชื่อไทย : เอื้องคำหิน
ชื่ออื่น : เอื้องบายศรี เอื้องคำขน
ต้น : เป็นกล้วยไม้อิงอาศัย ลำลูกกล้วยรูปกลมรี หรืออ้วนป้อม อวบน้ำ มักจะมีกาบใบหุ้ม เส้นผ่าศูนย์กลางต้น 2.5 - 3.5 ซม. สูง 4 - 7 ซม. เรียงตัวบนเหง้าห่างกัน 2 - 10 ซม.
ใบ : ใบรูปรีแกมรูปขอบขนาน แผ่นใบค่อนข้างหนา ใบมี 3 - 5 ใบต่อลำลูกกล้วย ใบเกิดใกล้ยอด ขนาดใบ กว้าง 2.5 - 4 ซม. ยาว 12 - 20 ซม.
ดอก : ช่อดอกเกิดจากแขนงที่จะเจริญเป็นหน่อใหม่ข้างหัวเดิม ยาว 15 - 30 ซม. ดอกในช่อโปร่ง ก้านดอกยาว 1.5 - 2 ซม. ขนาดดอกกว้างประมาณ 2 - 2.5 ซม. มีขนยาวนุ่มสีขาวคลุมผิวกลีบด้านนอกตลอดจนก้านดอก ใบประดับ แกนช่อและก้านช่อ กลีบเลี้ยงและกลีบดอกสีเขียวอ่อน กลีบปากมีลายปื้นสีน้ำตาลอมแดง เส้าเกสรสีเหลือง ดอกทยอยบานเป็นเวลานาน เป็นกล้วยไม้ที่เจริญได้ในถิ่นอาศัยหลายแบบ
ฤดูดอก : ตุลาคม - มกราคม
แหล่งที่พบในประเทศไทย : พบตามป่าดิบแล้ง และลานหินทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออก และภาคใต้
เขตการกระจายพันธุ์ : ประเทศในแถบเทือกเขาหิมาลัย จีนตอนใต้ มาเลเซีย และอินโดนีเซีย

ม้าวิ่ง



วงศ์ย่อย : Vandoideae
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Doritis pulcherima Lindl.
ชื่อพ้อง : Phalaenopsis pulcherrima ( Lindl. ) J.J. Sm.
ชื่อไทย : ม้าวิ่ง
ชื่ออื่น : หญ้าดอกหิน กล้วยหิน กล้วยไม้ม้า ละเม็ด
ต้น : เป็นกล้วยไม้ดิน มักพบขึ้นเป็นกอใหญ่บนลานหิน ต้นสูง 5 - 12 ซม.
ใบ : ใบรูปรีแกมขอบขนาน แผ่นใบหนาอวบน้ำและค่อนข้างแข็ง สีเขียวถึงแดงคล้ำ ขนาดใบกว้าง 2 - 4 ซม. ยาว 7 - 12 ซม.
ดอก : ช่อดอกออกจากซอกใบ เป็นช่อตั้ง ช่อดอกสูง 15 - 60 ซม. ขนาดดอก 1.5-2 ซม. กลีบเลี้ยงและกลีบดอก มีความหลากหลายของสี ตั้งแต่สีเกือบขาว ขาวอมชมพู ชมพูอ่อน ไปจนถึงสีม่วงอมชมพูเข้ม กลีบเลี้ยงลู่ไปด้านหลัง กลีบปากมีสีขาวแวมจากโคนกลีบ ดอกบานเต็มที่กว้าง 1.5 - 2 ซม.
ฤดูดอก : มิถุนายน - พฤศจิกายน หรือ เกือบตลอดปี
แหล่งที่พบในประเทศไทย : พบทั่วทุกภาค
เขตการกระจายพันธุ์ : อินเดีย พม่า อินโดจีน และภูมิภาคมาเลเซีย


ม้าบิน

เอื้องผักปราบ


วงศ์ย่อย : Neottioideae
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Herpysma longicaulis Lindl.
ชื่อไทย : เอื้องผักปราบ
ต้น : เป็นกล้วยไม้ดิน ต้นอวบน้ำและอ่อน
ใบ : ใบรูปรี แผ่นใบบาง ปลายและโคนใบแหลม โคนกาบใบหุ้มต้น ใบเรียงเวียนรอบต้นเป็นระยะ และค่อนข้างถี่ที่บริเวณยอด ขนาดใบ กว้าง 2 - 3 ซม. ยาว 4 - 6 ซม.
ดอก : ช่อดอกเกิดที่ปลายสุด ดอกย่อยขนาดเล็ก เรียงตัวแน่น มีใบระดับยาวเกือบเท่าดอก โคนกลีบปากมีเดือย ส่วนปลาย กลีบปากกางออกและหักพับลงเล็กน้อย ขนาดดอก 0.6 - 0.8 ซม.
ฤดูดอก : ธันวาคม - มกราคม
แหล่งที่พบในประเทศไทย : พบขึ้นในที่ร่มตามซอกหิน หรือพื้นดิน ที่สูงจากระดับน้ำทะเลตั้งแต่ 1,000 เมตรขึ้นไป ตามป่าดิบในภาคเหนือ ภาคตะวันออกแยงเหนือ และภาคตะวันตก
เขตการกระจายพันธุ์ : เนปาล สิกขิม อินเดียตะวันออกเฉียงเหนือ จีนตอนใต้ เวียดนาม และสุมาตรา

กุหลาบน่าน


วงศ์ย่อย : Vandoideae
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Aerides rosea Lodd. ex Lindl. & Paxt.
ชื่อไทย : เอื้องกุหลาบน่าน
ชื่ออื่น : เอื้องไอราวัณ เอื้องเอราวัณ เอื้องกุหลาบไอยราวรรณ
ต้น : เป็นกล้วยไม้อิงอาศัย แบบเจริญทางยอด ต้นตั้งตรงหรือเอนเล็กน้อย สูง 20 - 60 ซม.
ใบ : ใบค่อนข้างหนา พับเป็นรางตามยาว ผิวใบไม่มัน ปลายหยักเว้าไม่เท่ากัน ขนาดใบ กว้าง 2 - 4 ซม. ยาว 12 - 20 ซม.
ดอก : ช่อดอกทอดเอนหรือห้อยลง ยาว20 - 30 ซม. ดอกสีขาว มีแต้มและประสีชมพูเข้ม ดอกบานเต็มที่กว้าง 2 ซม. ลักษณะช่อและดอกคล้ายมาลัยแดงมาก แต่ดอกในช่อค่อนข้างจะโปร่งกว่า ดอกสีชมพูอมม่วงอ่อน ไม่อมแดงอย่างมาลัยแดง กลีบปากเป็นมุมแหลม มีกลิ่นหอมอ่อนๆ ดอกบานทนหลายวัน
ฤดูดอก : เมษายน - มิถุนายน
แหล่งที่พบในประเทศไทย : ในป่าดิบแล้งทางภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ พบน้อยมากในสภาพธรรมชาติ
เขตการกระจายพันธุ์ : อินเดีย ภูฏาน ลาว เวียดนาม พม่า และจีน

สิงโตก้ามปูใหญ่


วงศ์ย่อย : Epidendroideae
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Bulbophyllum macranthum Lindl.
ชื่อไทย : สิงโตก้ามปูใหญ่
ต้น : เป็นกล้วยไม้ขนาดกลาง หัวรูปรี สูง 2 - 2.5 ซม. มีขนเป็นเส้นๆจากโคนโดยรอบและตามข้อที่เหง้า ต้นเจริญเกาะแนบเปลือกไม้
ใบ : ใบรูปรีแกมขอบขนาน แผ่นใบหนาและแข็ง มี 1 ใบ ต่อลำลูกกล้วย ขนาด กว้าง 2-3 ซม. ยาว 10 - 12 ซม.
ดอก : ดอกเดี่ยวเกิดจากโคนเหง้า ก้านดอกยาว 2 -4 ซม. อวบน้ำ กลีบเลี้ยงและกลีบดอกสีครีม บริเวณขอบกลีบมีขีดและประสีม่วงแดง กลีบปากสีเหลืองอ่อน กลีบค่อนข้างหนาบานทน 1- 3 วัน ดอกบานเต็มที่กว้าง 3 - 4 ซม.
ฤดูดอก : ตุลาคม - ธันวาคม
แหล่งที่พบในประเทศไทย : พบทั่วประเทศ ตามป่าดิบเขา ที่สูงจากระดับน้ำทะเล 600 - 800 เมตร
เขตการกระจายพันธุ์ : พม่า อินโดจีน และภูมิภาคมาเลเซีย

เอื้องกระเจี้ยง


วงศ์ย่อย : Epidendroideae
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Epigeneium amplum ( Lindl.) Summerh.
ชื่อสามัญ : เอื้องกระเจี้ยง
ชื่ออื่น : เอื้องศรีเที่ยง เอื้องกว่าง
ต้น : เป็นกล้วยไม้อิงอาศัย ลำลูกกล้วยรูปรีแกมรูปไข่ อวบน้ำและแข็ง จะมีกาบบางแต่แข็งติดอยู่ที่ส่วนโคน ต้นเรียงตัวบนเหง้าห่างกัน 5 - 10 ซม. ทอดตัวแผ่ไปหลายทิศทาง เส้นผ่าศูนย์กลางต้น 2 - 3 ซม. สูง 4 - 6 ซม.
ใบ : ใบรูปรีแกมขอบขนาน ขนาดใบ กว้าง 2.5 – 3 ซม. ยาว 9 – 15 ซม. ใบมี 2 ใบต่อลำลูกกล้วย ใบเกิดที่ปลายยอด
ดอก : ดอกเป็นดอกเดี่ยว เกิดที่ปลายยอด ก้านดอกยาว 8 - 10 ซม. สีของกลีบเลี้ยงและกลีบดอกที่บานใหม่เหลืองอ่อนมีประสีน้ำตาล และจะเพิ่มความเข้มขึ้นจนเป็นสีน้ำตาลอมแดงในวันต่อๆมา กลีบปากสีม่วงแกมน้ำตาลเข้มเกือบดำ มีกลิ่นหอม ขนาดดอก กว้าง 5 - 6 ซม.บานทนประมาณ 1 สัปดาห์
ฤดูดอก : ตุลาคม - มกราคม
แหล่งที่พบในประเทศไทย : ป่าดิบแล้ง ป่าสน หรือป่าเบญจพรรณที่สูงจากระดับน้ำทะเล 1,000 - 1,500 เมตร ทางภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
เขตการกระจายพันธุ์ : เนปาล ภูฏาน และพม่า

ลิ้นมังกร


วงศ์ย่อย : Orchidoideae
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Habenaria rhodocheila Hance
ชื่อไทย : ลิ้นมังกร
ชื่ออื่น : ปัดแดง สังหิน เฟิน
ต้น : เป็นกล้วยไม้ดิน มีหัวในดินแบบมันฝรั่ง ต้นบนดินสั้น
ใบ : ใบรูปรีแกมรูปขอบขนาน ปลายแหลม แผ่นใบบาง บางครั้งอาจพบแผ่นใบมีลาย ขอบใบมักจะเป็นคลื่นขนาน มีใบหลายใบเรียงตัวกระจายรอบต้น ขนาดใบกว้าง 1.5 - 2.5 ซม. ยาว 8 - 12 ซม.
ดอก : ช่อดอกออกจากปลายยอด ช่อดอกสูง 7 - 18 ซม. ดอกเกิดค่อนไปทางปลายช่อ จำนวนดอกในช่อ 3 - 15 ดอก ทยอยบานเป็นเวลา 1 - 2 สัปดาห์ ขนาดดอกกว้าง 1.5 - 2 ซม. ยาว 2 - 3 ซม. กลีบเลี้ยงบนเชื่อมติดกับกลีบดอกมีสีเขียว กลีบปากขนาดใหญ่ โคนกลีบเรียวเล็ก ด้านข้างเป็นแฉกแผ่ออกเป็นปีก ปลายกลีบแยกเป็นแฉกหางปลา มีสีค่อนข้างหลากหลาย เช่น สีเหลือง เหลืองอมส้ม สีแสด แสดอมแดง หรือชมพู
ฤดูดอก : สิงหาคม - ตุลาคม
แหล่งที่พบในประเทศไทย : ขึ้นตามซอกหิน บนหิน หรือตามที่ดินร่วนในป่าดิบ
เขตการกระจายพันธุ์ : จีน ลาว เวียดนาม มาเลเซีย และฟิลิปปินส์

เอื้องพลายงาม


วงศ์ย่อย : Epidendroideae
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Pleione maculata Lindl.
ชื่อไทย : เอื้องพลายงาม
กล้วยไม้ชนิดนี้ลักษณะโดยทั่วไปคล้ายเอื้องพลายชมพู ( Pln.praecox ชื่อพ้อง Epi.praecox ) ต่างกันที่สีและลักษณะของกลีบปาก
ต้น : เป็นกล้วยไม้อิงอาศัย พบขึ้นบนต้นไม้หรือบนหิน ลำลูกกล้วยรูปทรงกระบอกเตี้ย มีสองปล้อง ปล้องบนรูปคล้ายกรวยคว่ำ บริเวณข้อเป็นลอนนูนโดยรอบ ผิวเป็นร่องตามยาว มักจะมีจุดประสีม่วงและมีเยื่อกาบใบติดอยู่ เส้นผ่าศูนย์กลางต้น 2.5 - 3.5 ซม. สูง 2.5 - 5 ซม.
ใบ : ใบเป็นแถบ รูปรี เนื้อใบบางและอ่อน ร่วงไปก่อนฤดูดอก ขนาดใบ กว้าง 1 ซม. ยาว 6 - 10 ซม.
ดอก : ก้านช่อดอกสั้น มี 1 - 2 ดอก ก้านดอกยาว 2 - 2.5 ซม. ดอกขนาด 3 - 4 ซม. กลีบเลี้ยงและกลีบดอกสีขาว กลีบปาก มีแต้มสีแดงเข้มสลับสีเหลือง ขอบกลีบปากจักเป็นคลื่น
ฤดูดอก : ตุลาคม - พฤศจิกายน
แหล่งที่พบในประเทศไทย : ทางภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
เขตการกระจายพันธุ์ : แถบเทือกเขาหิมาลัย อินเดีย พม่า และจีนตอนใต้

เถางูเขียว


วงศ์ย่อย : Epidendroideae
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Vanilla aphylla Rolfe
ชื่อไทย : เถางูเขียว
ชื่ออื่น : เครืองูเขียว คดนกกูด
กล้วยไม้ชนิดนี้สังเกตได้ยากในธรรมชาติ นอกจากในระยะที่มีดอก
ต้น : ต้นเป็นลำเกือบกลม หรือแบนเล็กน้อย และเป็นสี่เหลี่ยมขอบมน ผิวต้นเกลี้ยง สีเขียวเข้ม ปล้องยาวได้ถึง 50 ซม. กว้าง 0.5 - 1 ซม. รากออกที่ข้อ
ดอก : ดอกออกตามข้อเป็นช่อสั้น จำนวนดอกในช่อ 2 - 3 ดอก ขนาดดอกประมาณ 3 - 4 ซม.
ฤดูดอก : มีนาคม - พฤษภาคม
แหล่งที่พบในประเทศไทย : พบเกือบทุกภาค
เขตการกระจายพันธุ์ : พม่า อินโดจีน และมาเลเซีย

พุ่มข้าวบิณฑ์


วงศ์ย่อย : Epidendroideae
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Calanthe lyroglossa Rchb. f.
ชื่อไทย : พุ่มข้าวบิณฑ์
ชื่ออื่น :กล้วยไม้ดง
ต้น : เป็นกล้วยไม้ดิน ต้นสั้น มีโคนกาบใบหุ้ม
ใบ : ใบรูปขอบขนานแกมรูปรี โคนเรียวเป็นก้าน แผ่นใบบางและอ่อน ขนาดใบกว้าง 5 - 8 ซม. ยาว 30 - 60 ซม.
ดอก : ช่อดอกสูงใกล้เคียงกับใบหรือสูงกว่า ก้านช่อตรงและอวบน้ำ ดอกเกิดค่อนไปทางปลายช่อ เรียงตัวเป็นพุ่ม มีใบประดับแทรก ดอกทยอยบานเป็นเวลานาน ขนาดดอกประมาณ 1 ซม. กลีบกางออกจากกันเล็กน้อย
ฤดูดอก : พฤศจิกายน - กุมภาพันธ์
แหล่งที่พบในประเทศไทย : ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออก และภาคใต้
เขตการกระจายพันธุ์ : ญี่ปุ่น ไต้หวัน เกาะไหหลำ ฟิลิปปินส์ และพม่า

รองเท้านารีช่องอ่างทอง


วงศ์ย่อย : Cypripedioideae
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Paphiopedilum X ang-thong
ชื่อไทย : รองเท้านารีช่องอ่างทอง
ชื่ออื่น : รองเท้านารีเหลืองอ่างทอง
เป็นลูกผสมธรรมชาติระหว่างรองเท้านารีขาวสตูลกับรองเท้านารีเหลืองตรัง
ต้น : คล้ายรองเท้านารีขาวสตูลมาก
ใบ : ลักษณะโดยทั่วไปคล้ายรองเท้านารีขาวสตูล ปลายใบมน ใบมีลายสีเขียวอ่อนสลับสีเขียวแก่ ใต้ใบสีม่วงเข้ม
ดอก : กลีบเลี้ยงด้านบนและกลีบดอกคู่ข้างสีขาว มีจุดประกระจายจากโคนกลีบ ก้านดอกยาว จำนวนดอกในช่อ 1 - 3 ดอก
ฤดูดอก : เมษายน - สิงหาคม
แหล่งที่พบในประเทศไทย : บริเวณหมู่เกาะอ่างทอง สมุย และตามเขาหินปูนตั้งแต่ประจวบลงไป ตามภูเขาหินปูนที่ติดชายฝั่ง ในสภาพแวดล้อมเดียวกับรองเท้านารีขาวสตูล
เขตการกระจายพันธุ์ : พบเฉพาะในไทย

รองเท้านารีเหลืองปราจีน


วงศ์ย่อย : Cypripedioideae
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Paphiopedilum concolor ( Lindl. ) Pfitzer
ชื่อสามัญไทย : รองเท้านารีเหลืองปราจีน
ต้น : ลำต้นสั้นแตกกอด้านข้าง มักพบขึ้นตามพื้นดิน
ใบ :ใบค่อนข้างหนา รูปขอบขนาน ปลายหยักมนไม่เท่ากัน ใบด้านบนเขียวแก่สลับเขียวอ่อน ด้านล่างมีลายประสีม่วงกระจาย แผ่นใบกางออกในแนวเกือบระนาบ ขนาดใบ กว้าง 2.5 - 3.5 ซม. ยาว 10 - 20 ซม.
ดอก : ช่อดอกออกที่ปลายยอด ก้านช่อดอกยาว 5 - 7 ซม. สีเขียวหรือเขียวอมม่วง มีขนสั้นนุ่ม จำนวนดอกในช่อ 1 - 3 ดอก กลีบเลี้ยงและกลีบดอกสีเหลืองอ่อน หรือเหลืองเข้ม มีจุดประสีม่วง หรือเลือดหมูกระจายทั่วทั้งดอก ผิวกลีบมีขนละเอียดนุ่ม ขนาดดอกกว้างประมาณ 4 - 7 ซม.
บางครั้งจะพบรองเท้านารีเหลืองปราจีนที่มีดอกสีเหลืองทั้งดอก ไม่มีจุดประ จะเรียก รองเท้านารีนารีเหลืองปราจีนเผือก ( Paph. concolor var.album )
ฤดูดอก : เกือบตลอดปี
แหล่งที่พบในประเทศไทย : พบตามภูเขาหินปูน ที่สูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 300 - 500 เมตร บริเวณป่าเบญจพรรณที่อยู่ใกล้ทะเล หรือลำธาร ในภาคกลาง ภาคตะวันออก ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคตะวันตก
เขตการกระจายพันธุ์ : จีนตอนใต้ พม่า ลาว กัมพูชา เวียดนาม

กะเรกะร่อนปากเป็ด


วงศ์ย่อย : Vandoideae
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Cymbidium finlaysonianum Lindl.
ชื่อไทย : กะเรกะร่อนปากเป็ด
ต้น : ต้นสั้นมีใบหุ้ม ขึ้นเป็นกอแน่น
ราก : รากเป็นกระจุกและมีจำนวนมาก
ใบ : ใบเป็นแถบยาวหนาและแข็ง โคนใบซ้อนแน่น ขนาดใบกว้าง 2 - 3 ซม. ยาว 25 - 30 ซม.
ดอก : ช่อดอก ห้อยลง ยาว 20 - 60 ซม. ดอกในช่อดกค่อนข้างโปร่ง กลีบปากขอบขาว ช่วงปลายกลีบสีม่วงแดง รูปคล้ายเกือกม้า ขนาดดอกประมาณ 3 ซม.
ฤดูดอก : มีนาคม - พฤษภาคม
แหล่งที่พบในประเทศไทย : ภาคกลางและภาคใต้
เขตการกระจายพันธุ์ : อินโดจีนและภูมิภาคมาเลเซีย

จุหลัน


วงศ์ย่อย : Vandoideae
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Cymbidium ensifolium ( L. ) Sw.
ชื่อพ้อง : Epidendrum ensifolium L.
ชื่อไทย : จุหลัน
ต้น : เป็นกล้วยไม้ดิน ลำลูกกล้วยรูปกระเปาะค่อนข้างกลมมีโคนกาบหุ้ม
ใบ : ใบแบนยาว ปลายสอบ กว้าง 2.5 - 3 ซม. ยาว 30 - 60 ซม.
ดอก : ช่อดอกออกจากโคนต้น ช่อตั้งขึ้น ยาว 20 - 30 ซม. จำนวนดอกในช่อ 10 - 15 ดอก ดอกสีเขียวอมเหลือง หรือสีครีม มีแต้ม และจุดประสีแดง ดอกบานเต็มที่กว้าง 3 - 4 ซม. ดอกมีกลิ่นหอม
ฤดูดอก : ตุลาคม - มกราคม
แหล่งที่พบในประเทศไทย : ทางภาคเหนือ ภาคใต้ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
เขตการกระจายพันธุ์ : อินเดีย และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

วันอาทิตย์ที่ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2551

รองเท้านารีคางกบถิ่นใต้


วงศ์ย่อย : Cypripedioideae
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Paphiopedilum callosum ( Rchb. F.) Stein var. sublaeve( Rchb. f. ) Cribb
ชื่อไทย : รองเท้านารีคางกบใต้

ต้น : ลำต้นสั้น
ใบ : ใบค่อนข้างบาง รูปขอบขนาน ปลายแหลมและหยักเป็น 3 แฉกตื้น ด้านบนลายสีเขียวสลับขาวเป็นแถบและหย่อมๆ ด้านล่างสีเขียวลายไม่ชัด
ดอก : ก้านช่อยาว 15 - 20 ซม. สีเขียวอมม่วง มีขนสั้นนุ่ม ขนาดดอกประมาณ 6 ซม. ช่อละ 1-2 ดอก
ฤดูดอก : กุมภาพันธ์ - มิถุนายน
แหล่งที่พบในประเทศไทย : ขึ้นตามพื้นดินในป่าดิบชื้นทางภาคใต้

เอื้องกาบดอก


วงศ์ย่อย : Epidendroideae
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Pholidota imbricata Hook.
ชื่อไทย : เอื้องกาบดอก
ชื่ออื่น : เอื้องสายสร้อย เอื้องหางกระดิ่ง
ต้น : เป็นกล้วยไม้อิงอาศัย ลำลูกกล้วยรูปป้อม สีเขียว
ใบ : รูปรีแกมขอบขนาน แผ่นใบแผ่ ก้านใบยาวเรียวและแข็ง ขนาดใบ กว้าง 5 - 8 ซม. ยาว 20 - 25 ซม.
ดอก : ดอกออกจากโคนต้น เป็นช่อห้อยลง ก้านช่อดอกเรียวเป็นสายยาวได้ถึง 40 ซม. จำนวนดอกในช่อ 30 - 70 ดอก ดอกย่อยเรียงสลับ ซ้ายขวา มีใบประดับเป็นกาบสีน้ำตาล กลีบเลี้ยงและกลีบดอกสีขาวนวล ดอกบานเต็มที่กว้าง 1 ซม.
ฤดูดอก : พฤษภาคม – พฤศจิกายน