วันพฤหัสบดีที่ 29 พฤษภาคม พ.ศ. 2551

ฟ้ามุ่ย




วงศ์ย่อย : Vandoideae
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Vanda coerulea Griff.
ชื่อไทย : ฟ้ามุ่ย
ต้น : ต้นขนาดกลาง ขึ้นตรง ลำต้นกลมแข็ง ยาว 8-20 ซม. เส้นผ่าศูนย์กลางต้น 8-10 มม.
ใบ : ใบขนาด ยาว 8-15 ซม. กว้าง 1.8-2 ซม. ปลายใบป้านและหยักตื้นๆ 2-3 หยัก ม
ดอก : ช่อดอกตั้ง สูง 20-30 ซม. ดอกในช่อโปร่ง ขนาดดอก 4-5 ซม. ก้านดอกยาวประมาณ 5 ซม. กลีบสีฟ้าหรือสีฟ้าอมม่วง บางพันธุ์กลีบ มีลายเป็นตาราง และสีของตารางเข้มกว่าสีพื้น
ฤดูดอก : กรกฎาคม - ธันวาคม
แหล่งที่พบในประเทศไทย : ป่าดิบเขาทางภาคเหนือ
ขตการกระจายพันธุ์ : อินเดีย พม่า และจีน

เขากวางอ่อน



วงศ์ย่อย : Vandoideae
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Phalaenopsis cornucervi ( Breda ) Blume & Rchb. f.
ชื่อไทย : เขากวางอ่อน
ชื่ออื่น :เอื้องม้าลายเสือ ม้าลาย เอื้องเขากวาง เอื้องจะเข็บ
ต้น : ต้นสั้น รากยาวและใหญ่ มีจำนวนมาก
ใบ : ใบขนาด 10-15 ซม. กว้าง 2-4 ซม. ค่อนข้างอวบน้ำและอ่อน
ดอก : ช่อดอกยาวกว่าใบ แตกแขนง แกนช่อแบน อวบน้ำ ขอบ 2 ข้าง มีใบประดับรูปสามเหลี่ยมเรียงตัวเป็นระยะ
ขนาดดอก 2.5-3 ซม. สีดอกและลวดลายบนกลีบ มักแตกต่างกันในแต่ละพันธุ์
แหล่งที่พบในประเทศไทย : พบตามป่าเบญจพรรณ และป่าดิบชื้นทั่วทุกภาค
เขตการกระจายพันธุ์ : อินเดียตะวันออกเฉียงเหนือ พม่า ลาว แลละภูมิภาคมาเลเซีย

สิงโตกำมะหยี่





วงศ์ย่อย : Epidendroideae
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Bulbophyllum dhaninivatii Seidenf.
ชื่อไทย : สิงโตกำมะหยี่
สิงโตกำมะหยี่หรือสิงโตธานีนิวัตินี้ ตั้งชื่อให้เป็นเกียรติแด่กรมหมื่นพิทยาลาภพฤฒิยากร (พระองค์เจ้าธานีนิวัต)
ต้น : เป็นกล้วยไม้อิงอาศัยขนาดเล็กทิ้งใบหลังจากมีดอก หัวกลมหรือรูปไข่ ขนาดประมาณ 1 ซม.
ใบ : ใบรูปรี แผ่นใบบางและอ่อน มี 2 ใบต่อลำลูกกล้วย ขนาดกว้าง 1.5 - 2 ซม. ยาว 4-7 ซม.
ดอก : ก้านช่อสั้น ทั้งช่อขนาดกว้าง 1-1.5 ซม. ยาว 1.5 - 2.5 ซม. ดอกขนาดประมาณ 5 มม. กลีบกางออกจากกันเล็กน้อย ขอบกลีบงุ้มเข้า ด้านนอกมีขนนุ่ม
ฤดูดอก : พฤศจิกายน - ธันวาคม
แหล่งที่พบในประเทศไทย : พบตามป่าดิบทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือที่สูงจากระดับน้ำทะเล 1,000 เมตรขึ้นไป
เขตการกระจายพันธุ์ : พบเฉพาะในประเทศไทย

สิงโตใบพัดทอง

วงศ์ย่อย : Epidendroideae
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Cirrhopetalum skeateanum <> Garay
ชื่อพ้อง : Bulbophyllum skeateanum Ridl.
ชื่อไทย : สิงโตพัดทอง
ชื่ออื่น : สิงโตใบพัดเขาหลวง
ต้น : เป็นกล้วยไม้อิงอาศัย ลำลูกกล้วยรูปหยดน้ำ เส้นผ่าศูนย์กลางต้น 0.7 ซม. สูง 1 - 1.5 ซม. เรียงตัวบนเหง้า ห่างกันประมาณ 1 ซม.
ใบ : ใบรูปแถบ แผ่นใบค่อนข้างบางและอ่อน ปลายมน ขนาดใบกว้าง 0.8 ซม. ยาว 5 - 6 ซม.
ดอก : ช่อดอกเกิดจากโคนต้น ก้านช่อผอม ยาวประมาณ 10 ซม. ดอกเกิดที่ปลายสุดของช่อ เรียงตัวแผ่ในแนวรัศมี ขนาดดอกกว้างประมาณ 0.6 ซม. ยาว 1.2 - 2 ซม.
ฤดูดอก : ธันวาคม - เมษายน
แหล่งที่พบในประเทศไทย : ป่าดิบเขาทางภาคใต้
เขตการกระจายพันธุ์ : มาเลเซีย ไทย

เอื้องขยุกขยุย

วงศ์ย่อย : Epidendroideae
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Bulbophyllum dayanum Rchb. f.
ชื่อไทย : เอื้องขยุกขยุย
ชื่ออื่น : สิงโตขยุกขยุย
ต้น : ต้นค่อนเล้ก ลำลูกกล้วยรูปไข่หรือรูปรี ขนาดกว้าง 1 - 1.5 ซม. สูง 1.5 - 2 ซม. ผิวมัน มักจะมีสีม่วงเข้ม เรียงตัวบนเหง้าห่างกัน 4 -6 ซม.
ใบ : ใบรูปรี มี 1 ใบต่อลำลูกกล้วย ใบด้านล่างสีม่วงเข้ม ด้านบนสีเขียวอมม่วง ปลายแหลม ขนาดใบกว้าง 2 - 2.5 ซม. ยาว 6 - 10 ซม.
ดอก : ช่อดอกสั้นเป็นกระจุก จำนวนดอกในช่อ 2 - 5 ดอก ขนาดดอกประมาณ 1.2 ซม. ขอบกลีบมีขนเป็นครุย ดอกมีกลิ่นเหม็น
ฤดูดอก : พฤศจิกายน - มกราคม หรือเกือบตลอดปี
แหล่งที่พบในประเทศไทย : ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงใต้ และภาคใต้
เขตการกระจายพันธุ์ : ไทย พม่าและเขมร

เอื้องคำ


วงศ์ย่อย : Epidendroideae
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Dendrobium chrysotoxum Lindl.
ชื่อสามัญ : เอื้องคำ
ชื่อท้องถิ่น :
ต้น : ลำต้นเป็นลำรูปยาวรี ขนาด 15 - 40 x 2 - 3 ซม. ผิวสีเขียวอมเหลือง หรือเหลือง เป็นร่องตามยาว ต้นตรงหรือทอดเอน
ใบ : ใบรูปรี แกมรูปขอบขนาน ขนาด 8 - 12 x 2.5 - 4 ซม. แผ่นใบเหนียวคล้ายหนัง ปลายหยักมน เรียงตัวเวียนสลับใกล้ยอด มี 3 - 6 ใบ
ดอก : ช่อดอกเกิดจากข้อใกล้ยอด มักจะทอดเอนหรือโค้งงอลง ยาวเกือบเท่าต้น ดอกในช่อค่อนข้างโปร่งเรียงตัวเวียนรอบแกนช่อ ขนาดดอก 2.5 - 3 ซม. กลีบปากมีขนละเอียดนุ่ม กลิ่นหอมอ่อนๆ เอื้องคำเป็นกล้วยไม้ที่นิยมปลูกเลี้ยงมากในภาคเหนือ
ฤดูดอก : มีนาคม - เมษายน
แหล่งที่พบในประเทศไทย : ป่าดิบแล้งทางภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันตก และภาคใต้
เขตการกระจายพันธุ์ : อินเดีย จีน พม่า ลาว และเวียดนาม