วงศ์ย่อย : Epidendroideae
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Dendrobium chrysotoxum Lindl.
ชื่อสามัญ : เอื้องคำ
ชื่อท้องถิ่น :
ต้น : ลำต้นเป็นลำรูปยาวรี ขนาด 15 - 40 x 2 - 3 ซม. ผิวสีเขียวอมเหลือง หรือเหลือง เป็นร่องตามยาว ต้นตรงหรือทอดเอน
ใบ : ใบรูปรี แกมรูปขอบขนาน ขนาด 8 - 12 x 2.5 - 4 ซม. แผ่นใบเหนียวคล้ายหนัง ปลายหยักมน เรียงตัวเวียนสลับใกล้ยอด มี 3 - 6 ใบ
ดอก : ช่อดอกเกิดจากข้อใกล้ยอด มักจะทอดเอนหรือโค้งงอลง ยาวเกือบเท่าต้น ดอกในช่อค่อนข้างโปร่งเรียงตัวเวียนรอบแกนช่อ ขนาดดอก 2.5 - 3 ซม. กลีบปากมีขนละเอียดนุ่ม กลิ่นหอมอ่อนๆ เอื้องคำเป็นกล้วยไม้ที่นิยมปลูกเลี้ยงมากในภาคเหนือ
ฤดูดอก : มีนาคม - เมษายน
แหล่งที่พบในประเทศไทย : ป่าดิบแล้งทางภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันตก และภาคใต้
เขตการกระจายพันธุ์ : อินเดีย จีน พม่า ลาว และเวียดนาม
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Dendrobium chrysotoxum Lindl.
ชื่อสามัญ : เอื้องคำ
ชื่อท้องถิ่น :
ต้น : ลำต้นเป็นลำรูปยาวรี ขนาด 15 - 40 x 2 - 3 ซม. ผิวสีเขียวอมเหลือง หรือเหลือง เป็นร่องตามยาว ต้นตรงหรือทอดเอน
ใบ : ใบรูปรี แกมรูปขอบขนาน ขนาด 8 - 12 x 2.5 - 4 ซม. แผ่นใบเหนียวคล้ายหนัง ปลายหยักมน เรียงตัวเวียนสลับใกล้ยอด มี 3 - 6 ใบ
ดอก : ช่อดอกเกิดจากข้อใกล้ยอด มักจะทอดเอนหรือโค้งงอลง ยาวเกือบเท่าต้น ดอกในช่อค่อนข้างโปร่งเรียงตัวเวียนรอบแกนช่อ ขนาดดอก 2.5 - 3 ซม. กลีบปากมีขนละเอียดนุ่ม กลิ่นหอมอ่อนๆ เอื้องคำเป็นกล้วยไม้ที่นิยมปลูกเลี้ยงมากในภาคเหนือ
ฤดูดอก : มีนาคม - เมษายน
แหล่งที่พบในประเทศไทย : ป่าดิบแล้งทางภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันตก และภาคใต้
เขตการกระจายพันธุ์ : อินเดีย จีน พม่า ลาว และเวียดนาม
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น