วันศุกร์ที่ 6 มิถุนายน พ.ศ. 2551

รองเท้านารีอินทนนท์

วงศ์ย่อย : Cypripedioideae
ชื่อวิทยาศาสตร์ :Paphiopedilum villosum ( Lindl. ) Stein
ชื่อสามัญไทย : รองเท้านารีอินทนนท์
ชื่ออื่น : เอื้องแมงภู่ เอื้องไข่ไก่
ต้น : ลำต้นสั้น
ใบ : ใบรูปขอบขนานค่อนข้างบางและอ่อน ปลายใบแหลม ผิวด้านบนเขียวเรียบ ด้านล่างมีจุดประเล็กๆ สีม่วงเป็นแนวตามยาว ใบกางออกในแนวรัศมี
ขนาดของใบ ยาว15-20 ซม. กว้าง 2-2.5 ซม.
ดอก : เป็นดอกเดี่ยว ขนาด 7-9 ซม. ก้านช่อดอกยาว 15-20 ซม.
ฤดูดอก : ตุลาคม - กุมภาพันธ์
แหล่งที่พบในประเทศไทย : ตามป่าดิบที่สูงจากระดับน้ำทะเล 1,000 เมตรขึ้นไป ทางภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
เขตการกระจายพันธุ์ : อินเดีย พม่า ไทย เวียดนาม ลาว

รองเท้านารีเมืองกาญจน์

วงศ์ย่อย : Cypripedioideae
ชื่อวิทยาศาสตร์ :Paphiopedilum parishii ( Rchb. f. ) Stein
ชื่อสามัญ : รองเท้านารีเมืองกาญจน์
ชื่ออื่น : รองเท้านารีหนวดฤษี
ต้น : ลำต้นสั้น
ใบ : ใบรูปขอบขนาน ค่อนข้างหนา ปลายหยักมนไม่เท่ากัน ด้านบนสีเขียวกว่าด้านล่าง เรียงตัวสลับค่อนข้างห่าง กางออกในแนวรัศมี ขนาดของใบ ยาว 25- 40 ซม. กว้าง 3-4 ซม.
ดอก : ขนาดกว้าง 5 -7 ซม. ยาว 8 - 9 ซม. กลีบดอก คู่ข้างยาว 10 -12 ซม. ขอบเป็นคลื่นและบิดเป็นเกลียว ก้านช่อดอกยาวได้ถึง 60 ซม. แกนช่อมักจะโค้งเอนลง จำนวนดอกในช่อ 4 -8 ดอก
ฤดูดอก : มิถุนายน - กันยายน
แหล่งที่พบในประเทศไทย : ในป่าดิบชื้นทางภาคตะวันตก
เขตการกระจายพันธุ์ : จีนตอนใต้ และพม่า

เอื้องช้างสารภี


วงศ์ย่อย : Vandoideae
ชื่อวิทยาศาสตร์ :Acampe rigida <> Hunt
ชื่อไทย : เอื้องช้างสารภี
ชื่ออื่น : เอื้องสารภี, เอื้องเจ็ดปอย, เอื้องดอกขาม, เอื้องตีนเต่า
ต้น : เป็นกล้วยไม้ขนาดใหญ่ ลำต้นสูง 30-80ซม.

ใบ : รูปขอบขนาน แผ่นใบหนาอวบและค่อนข้างแข็ง ขนาด กว้าง 3-4 ซม. ยาว 15 - 20 ซม.
ดอก : ช่อดอกสั้นเกิดจากซอกใบ ดอกในช่อเป็นกระจุก ขนาดของดอก ประมาณ 1.5 - 2 ซม. ดอกบานทนและมีกลิ่นหอม
ฤดูดอก : สิงหาคม - ตุลาคม
แหล่งที่พบในประเทศไทย : ตามป่าดิบในภาคเหนือ, ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันตก และภาคใต้
เขตการกระจายพันธุ์ : แอฟริกา, อินเดียตอนเหนือ บริเวณเทือกเขาหิมาลัย, จีน, พม่า, อินโดจีน, และมาเลเซีย

เอื้องเทียนใบรี

วงศ์ย่อย :Epidendroideae
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Coelogyne fimbriata Lindl.
ชื่อสามัญไทย : เอื้องเทียนใบรี
ชื่ออื่น :
ต้น : เป็นหัวรูปรีผิวเรียบและมัน ขนาดกว้าง 1.5 ซม. ยาว 2.5-3 ซม. เรียงตัวบนเหง้าห่างกัน 3-5 ซม.
ใบ : รูปรี แผ่นใบแข็งและเหนียว ขนาดใบ กว้าง 1.5-2 ซม. ยาว 4-6 ซม.
ดอก : ดอกเกิดที่ยอด ดอกขนาด 2 ซม.ทยอยบานครั้งละ 1 ดอก บริเวณขอบกลีบปากมีขนสั้นละเอียด
ฤดูดอก : ตุลาคม - พฤศจิกายน
แหล่งที่พบในประเทศไทย : ป่าดิบในภาคเหนือและภาคตะวันออก
เขตการกระจายพันธุ์ : อินเดีย จีน อินโดจีน และมาเลเซีย

เอื้องผาหมอก

วงศ์ย่อย : Epidendroideae
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Coelogyne xyrekes Ridl.
ชื่อสามัญไทย : เอื้องผาหมอก
ต้น : เป็นกล้วยไม้อิงอาศัย ลำลูกกล้วยรูปทรงรี ขนาดกว้าง 1.5-3 ซม. ยาว 4.5-5 ซม.
ใบ : แผ่นใบรูปรีถึงขอบขนาน ขนาด กว้าง 4.5-6 ซม. ยาว 24-27 ซม. มีเส้นใบชัดเจน 3 เส้น ก้านใบยาว 2-5 ซม. แต่ละลำต้นมี 1 ใบ
ดอก : ช่อดอกยาวถึง 18 ซม. ก้านช่อดอกเรียวเล็ก ยาวถึง 12 ซม. ใบประดับยาว 5-5.5 ซม. ดอกสีชมพูปนครีมกลีบเลี้ยงคู่ข้าง ขนาดกว้าง 1.8-2 ซม. ยาว 5-6 ซม. กลีบดอกเรียวแคบ ขนาดกว้าง 0.25-0.3ซม. ยาว5-6 ซม. กลีบปากสีน้ำตาลแดงเข้ม ยาวใกล้เคียงหรือยาวกว่ากลีบดอกขอบกลีบทั้งสองด้านเป็นคลื่นและเป็นสัน แฉกด้านข้างมนและแฉกปลายกลีบรูปไข่ กว้าง 2 ซม. มีขอบสีชมพูครีม เรียบ เส้าเกสรสีเหลืองซีด
ฤดูดอก : เมษายน - มิถุนายน
แหล่งที่พบในประเทศไทย :พังงา กระบี่ สตูล ตรัง นครศรีธรรมราช
เขตการกระจายพันุธ์ : มาเลเซีย ,ไทย

เอื้องนางชี


วงศ์ย่อย :Epidendroideae
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Dendrobium virgineum Rchb. f.
ชื่อสามัญไทย : เอื้องนางชี
ชื่ออื่น : เอื้องชีปะขาว
ต้น : ต้นเป็นลำกลม ยาว 20 – 40 ซม. เส้นผ่าศูนย์กลางต้น 7 – 10 มม. โคนเรียวสอบ ผิวแห้งเป็นร่องตื้น มีขนสั้นสีดำละเอียดบริเวณใกล้ยอด ต้นขึ้นเป็นกอเอนหลายทิศทาง
ใบ : ใบรูปขอบขนานแกมรูปรี กว้าง 2 ซม. ยาว 6 – 8 ซม. ปลายใบเว้าหยักมน แผ่นใบค่อนข้างหนาและเหนียว
ดอก : ช่อดอกเกิดใกล้ปลายยอด ก้านช่อสั้น ในช่อมี 4 – 6 ดอก ขนาดดอกประมาร 4 ซม. กลีบทุกกลีบสีขาว ปลายกลีบมน ขอบเป็นคลื่น บริเวณแนวกลางกลีบปากอาจมีแต้มสีแสด หรือแดง ดอกบานทนหลายวัน
ฤดูดอก : มิถุนายน - ตุลาคม
แหล่งที่พบในประเทศไทย : ป่าดิบแล้ง และป่าเบญจพรรณทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคตะวันออก
เขตการกระจายพันธุ์ : พม่า ลาว และเวียดนาม

วันพฤหัสบดีที่ 5 มิถุนายน พ.ศ. 2551

เอื้องทอง

วงศ์ย่อย :Epidendroideae
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Dendrobium ellipsophyllum Tang & Wang
ชื่อพ้อง : Dendrobium revolutum Lindl.
ชื่อสามัญไทย : เอื้องทอง
ชื่อท้องถิ่น :
ต้น : ต้นเป็นลำค่อนข้างแข็ง ยาว 25 - 40 ซม. เส้นผ่าศูนย์กลางต้น 0.8 - 1 ซม. ปล้องสั้นผิวเป็นสันและมีร่องตามยาว
ใบ : ใบรูปรีแกมรูปขอบขนาน ขนาด 2 - 2.5 x 1.2 - 1.5 ซม. ปลายมนหยักเว้าไม่เท่ากัน แผ่นใบค่อนข้างหนาและเหนียว เรียงตัวสลับซ้ายขวาตลอดต้น
ดอก : เป็นดอกเดี่ยว เกิดที่ซอกใบ ก้านดอกยาว 1.2 - 1.5 ซม. ดอกขนาดกว้าง 1.5 ซม. ยาว 1.2 ซม. กลีบดอกและกลีบเลี้ยงคู่ข้างสีขาว ผิวมันเล็กน้อย กลีบปากในดอกบานใหม่สีนวลอมเหลือง แล้วจึงค่อยเข้มขึ้นเป็นสีเหลืองหรือเหลืองอมน้ำตาล ดอกบานทนหลายวัน
ฤดูดอก : มิถุนายน - สิงหาคม
แหล่งที่พบในประเทศไทย : ป่าดิบแล้งทุกภาค ยกเว้นภาคกลาง
เขตการกระจายพันธุ์ : จีน พม่า และอินโดจีน

เอื้องผึ้ง

วงศ์ย่อย :Epidendroideae
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Dendrobium linleyi Steud.
ชื่อพ้อง : Dendrobium aggregatum Roxb.
ชื่อสามัญไทย : เอื้องผึ้ง
ชื่ออื่น :
ต้น : ต้นเป็นลำรูปรี มักจะแบนเล็กน้อยยาว 5 - 12 ซม. กว้าง 1.5 -2.5 ซม. มีสันและร่องตามยาว ผิวแห้ง สีเขียวเข้ม หรือเขียวอมม่วง ขึ้นเป็นกระจุกแน่น
ใบ : มี 1 ใบเกิดที่ยอด ใบรูปรี ยาว 6 - 12 ซม. กว้าง 2 - 2.5 ซม. แผ่นใบหนาแข็งและเหนียว สีเขียวเข้ม ปลายใบแหลมมน หรือหยักเว้าตื้นๆ
ดอก : ช่อดอกเกิดจากข้อที่ต้น ช่อดอกอ่อนห้อยลงเป็นพวงยาว 15 - 40 ซม. ทั้งช่อกว้าง 7 - 10 ซม. ก้านดอกผอม ยาว 3 - 4 ซม. ดอกขนาด 2 - 2.5 ซม. ดอกบานใหม่สีเหลืองอมเขียว วันต่อมาสีจะเข้มขึ้นจนเป็นสีเหลืองอมส้ม ดอกบานทนประมาณ 1 สัปดาห์ มีกลิ่นหอมอ่อนๆ
ฤดูดอก : กุมภาพันธ์ - พฤษภาคม
แหล่งที่พบในประเทศไทย : ป่าดิบแล้งเกือบทุกภาค ยกเว้นภาคกลาง
เขตการกระจายพันธุ์ : สิกขิม ภูฏาน อินเดีย จีน พม่า ลาว และเวียดนาม

เอื้องสายน้ำเขียว


วงศ์ย่อย :Epidendroideae
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Dendrobium crepidatum Lindl. & Paxt.
ชื่อสามัญไทย : เอื้องสายน้ำเขียว
ชื่อท้องถิ่น :
ต้น : ต้นเป็นลำกลม ยาว 15 - 30 ซม. เส้นผ่าศูนย์กลางต้น 7 - 10 มม. ต้นที่ยังไม่มีดอกจะมีเยื่อกาบใบบางๆคลุม ต้นทอดเอนหรือห้อยลง
ใบ : แผ่นใบยาวรี ขนาด 5 - 8 x 1.5 ซม. แผ่นใบบางและอ่อน ร่วงไปเมื่อต้นแก่
ดอก : ช่อดอกเกิดตามข้อ ช่อละ 1 - 2 ดอก ขนาดดอก 2 - 2.5 ซม. บางพันธ์ติดฝักง่ายและกลีบไม่กาง
ฤดูดอก : กุมภาพันธ์ - เมษายน
แหล่งที่พบในประเทศไทย : ป่าดิบแล้งในภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันตก และภาคตะวันออก
เขตการกระจายพันธุ์ : อินเดีย เนปาล สิกขิม ภูฏาน จีน ลาว และเวียดนาม

เอื้องช้างน้าว

วงศ์ย่อย :Epidendroideae
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Dendrobium puchellum Roxb. ex Lindl.
ชื่อสามัญไทย : เอื้องช้างน้าว
ชื่ออื่น : เอื้องคำตาควาย, เอื้องตาควาย, สบเป็ด
ต้น : ต้นเป็นลำตรงหรือโค้งเล็กน้อย ยาวประมาณ 1 เมตร หรือมากกว่า เส้นผ่าศูนย์กลางต้นประมาณ 1 - 1.5 ซม. ต้นแข็งปลายเรียว ขึ้นเป็นกลุ่มไม่มีทิศทางแน่นอน
ใบ : ใบรูปขอบขนานแกมรูปใบหอก ยาว 6 - 10 ซม. กว้าง 2 - 3 ซม. แผ่นใบค่อนข้างหนาและเหนียว สีเขียวอมน้ำตาลหรืออมม่วงแดง เรียงตัวเกือบตลอดต้น
ดอก : ช่อดอกเกิดใกล้ปลายต้นเป็นพวงห้อยลง ขนาดช่อ ยาว 12 - 20 ซม. กว้าง 10 - 12 ซม. ดอกในช่อมี 5 - 10 ดอก ก้านดอกยาว 5 - 6 ซม. ขนาดดอกประมาณ 6 ซม. ผิวกลีบด้านในค่อนข้างมันวาว กลีบปากมีขนนุ่ม ดอกบานทนประมาณ 5 วัน
ฤดูดอก : กุมภาพันธ์ - พฤษภาคม
แหล่งที่พบในประเทศไทย : ป่าดิบแล้งและป่าเบญจพรรณเกือบทุกภาค ยกเว้นภาคกลาง
เขตการกระจายพันธุ์ : เนปาล อินเดีย ลาว เวียดนาม และมาเลเซีย

เอื้องปากนกแก้ว

วงศ์ย่อย :Epidendroideae
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Dendrobium cruentum Rchb. f.
ชื่อสามัญไทย : เอื้องปากนกแก้ว
ชื่อท้องถิ่น : เอื้องนกแก้ว
ต้น : ต้นเป็นลำผอม ยาว 15 - 40 ซม. เส้นผ่าศูนย์กลางต้น 5 - 8 มม. ผิวแห้ง เป็นร่องและมีขนละเอียดสีดำคลุมตลอดต้น
ใบ : ใบรูปขอบขนานแกมรูปใบหอก ขนาด 4 - 6 x 1.5 ซม. แผ่นใบเหนียวคล้ายหนัง ปลายใบสอบแหลมหรือหยักมนไม่เท่ากัน ใต้ใบมีขนละเอียดสีดำ
ดอก : ช่อดอกเกิดตามข้อใกล้ยอด เป็นช่อสั้น ช่อละ 1 - 2 ดอก ดอกมีขนาด 2 - 3 ซม. กลีบค่อนข้างคงรูป บานทนเป็นเวลาหลายวัน กลางกลีบกลางปากมีสันขรุขระสีแสดอมแดงสด ในธรรมชาติพบได้น้อยมาก ปัจจุบันมีการเพาะขยายพันธ์เพื่อการค้าเป็นจำนวนมาก และมีการปรับปรุงสายพันธ์ให้สามารถออกดอกได้ตลอดทั้งปี
ฤดูดอก : ตุลาคม - กุมภาพันธ์
แหล่งที่พบในประเทศไทย : ภาคใต้
เขตการกระจายพันธุ์ : ไทย เวียดนาม

เอื้องแปรงสีฟัน

วงศ์ย่อย :Epidendroideae
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Dendrobium secundum ( Blume ) Lindl.
ชื่อสามัญไทย : เอื้องแปรงสีฟัน
ชื่ออื่น : เอื้องสีฟัน ,เอื้องหงอนไก่, คองูเห่า
ต้น : ต้นเป็นลำกลม ยาว 15 – 30 หรืออาจยาวได้ถึง 60 ซม. เส้นผ่าศูนย์กลางต้น 1 – 2 ซม. ปลายเรียว ผิวต้นเป็นร่องตื้นๆ ขึ้นเป็นกอ ต้นมักจะทอดเอนหรือโค้งเล็กน้อย
ใบ : ใบรูปชอบขนานแกมรูปรี ยาว 6 – 10 ซม. กว้าง 2 – 3 ซม. ปลายมนหรือหยักเว้าตื้นๆ แผ่นใบบาง ทิ้งใบก่อนออกดอก
ดอก : ช่อดอกเกิดใกล้ยอด ก้านและแกนช่อตรง ดอกเรียงตัวแน่นทางซีกบนของแกนช่อคล้ายแปรง ทั้งช่อยาว 6 – 12 ซม. กว้าง 3 ซม. ดอกรูปคล้ายกรวยเรียงตัวในแนวตั้ง ขนาดดอก ยาว 1 – 1.2 กว้าง 0.5 – 0.6 ซม.ดอกทยอยบานจากโคนไปสู่ปลายช่อ ดอกมีตั้งแต่สีขาว ชมพูอ่อน ชมพูอมม่วงไปจนถึงม่วงเข้ม
ฤดูดอก : กุมภาพันธ์ - เมษายน
แหล่งที่พบในประเทศไทย : พบในป่าเกือบทุกประเภท และทั่วทุกภาค
เขตการกระจายพันธุ์ : จีน พม่า อินโดจีน และภูมิภาคเอเชีย

เอื้องเงินแดง


วงศ์ย่อย : Epidendroideae
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Dendrobium cariniferum Rchb. f.
ชื่อไทย : เอื้องเงินแดง
ชื่ออื่น : เอื้องกาจก เอื้องตึง เอื้องแซะเหลือง เอื้องแซะดง พอมือคาพะโด่
ต้น : ต้นเป็นลำ โคนต้นเรียวสอบ มีขนละเอียดสีเทาดำกระจายปกคลุม ลำต้นสูง 15 - 30 ซม. เส้นผ่าศูนย์กลางต้น 1 - 1.5 ซม. ผิวเป็นร่อง

ใบ : ใบรูปรีแกมขอบขนาน แผ่นใบบาง แบน ปลายหยักมนไม่เท่ากัน กาบใบมีขนสีน้ำตาลแดง ขนาดใบกว้าง 1.6 - 2.5 ซม. ยาว 6 - 10 ซม.
ดอก : ช่อดอกเกิดตามข้อใกล้ยอด ก้านช่อสั้น จำนวนดอกในช่อมี 2 - 5 ดอก ขนาดดอก 3 - 6 ซม. มีกลิ่นหอมแรง กลีบดอกและกลีบเลี้ยง สีครีมหรือสีขาว ปลายกลีบสีเหลืองจางหรือสีส้มอ่อน กลีบปากแต้มสีแสด มีขนปุย
ฤดูดอก :กุมภาพันธ์ - พฤษภาคม
แหล่งที่พบในประเทศไทย : พบตามป่าดิบเขา ที่สูงจากระดับน้ำทะเล 1,000 - 1,600 เมตร ทางภาคเหนือ
เขตการกระจายพันธุ์ : อินเดีย จีนตอนใต้ พม่า ลาว และเวียดนาม

เอื้องเงินหลวง


วงศ์ย่อย :Epidendroideae
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Dendrobium formosum Roxb. ex Lindl.
ชื่อสามัญ : เอื้องเงินหลวง
ชื่อท้องถิ่น : โกมาซุม(ระนอง)
ต้น : ต้นเป็นลำอวบ ยาว 20 - 40 ซม. ปลายเรียวเล็กน้อย เส้นผ่าศูนย์กลางต้น 1.5 - 2.5 ซม. มีขนสั้นละเอียดสีดำประปรายทั่วลำต้น
ใบ : ใบรูปขอบขนานแกมรูปใบหอก กว้าง 2.5 - 3.5 ซม. ยาว 7 - 10 ซม. แผ่นใบเหนียวค่อนข้างบางคล้ายแผ่นหนัง ปลายหยักเว้าตื้น เรียงตัวถี่ใกล้ยอด
ดอก : ช่อดอกสั้นเกิดใกล้ยอด ขนาดดอก 4 - 6 ซม. จำนวนดอกในช่อ 1 - 5 ดอก มีสีขาว กลีบปากปลายหยักเว้า บริเวณกลางถึงโคนกลีบปากมีสีเหลือง กลีบดอกคู่ข้างกว้าง ปลายมน ดอกบานทนประมาณ 3 - 4 สัปดาห์

ฤดูดอก : กันยายน - ธันวาคม หรือเกือบตลอดทั้งปี
แหล่งที่พบในประเทศไทย : ป่าดิบทางภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันตก และภาคใต้
เขตการกระจายพันธุ์ : อินเดีย เนปาล สิกขิม พม่า และเวียดนาม