วงศ์ย่อย : Epidendroideae
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Dendrobium cariniferum Rchb. f.
ชื่อไทย : เอื้องเงินแดง
ชื่ออื่น : เอื้องกาจก เอื้องตึง เอื้องแซะเหลือง เอื้องแซะดง พอมือคาพะโด่
ต้น : ต้นเป็นลำ โคนต้นเรียวสอบ มีขนละเอียดสีเทาดำกระจายปกคลุม ลำต้นสูง 15 - 30 ซม. เส้นผ่าศูนย์กลางต้น 1 - 1.5 ซม. ผิวเป็นร่อง
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Dendrobium cariniferum Rchb. f.
ชื่อไทย : เอื้องเงินแดง
ชื่ออื่น : เอื้องกาจก เอื้องตึง เอื้องแซะเหลือง เอื้องแซะดง พอมือคาพะโด่
ต้น : ต้นเป็นลำ โคนต้นเรียวสอบ มีขนละเอียดสีเทาดำกระจายปกคลุม ลำต้นสูง 15 - 30 ซม. เส้นผ่าศูนย์กลางต้น 1 - 1.5 ซม. ผิวเป็นร่อง
ใบ : ใบรูปรีแกมขอบขนาน แผ่นใบบาง แบน ปลายหยักมนไม่เท่ากัน กาบใบมีขนสีน้ำตาลแดง ขนาดใบกว้าง 1.6 - 2.5 ซม. ยาว 6 - 10 ซม.
ดอก : ช่อดอกเกิดตามข้อใกล้ยอด ก้านช่อสั้น จำนวนดอกในช่อมี 2 - 5 ดอก ขนาดดอก 3 - 6 ซม. มีกลิ่นหอมแรง กลีบดอกและกลีบเลี้ยง สีครีมหรือสีขาว ปลายกลีบสีเหลืองจางหรือสีส้มอ่อน กลีบปากแต้มสีแสด มีขนปุย
ฤดูดอก :กุมภาพันธ์ - พฤษภาคม
แหล่งที่พบในประเทศไทย : พบตามป่าดิบเขา ที่สูงจากระดับน้ำทะเล 1,000 - 1,600 เมตร ทางภาคเหนือ
เขตการกระจายพันธุ์ : อินเดีย จีนตอนใต้ พม่า ลาว และเวียดนาม
ดอก : ช่อดอกเกิดตามข้อใกล้ยอด ก้านช่อสั้น จำนวนดอกในช่อมี 2 - 5 ดอก ขนาดดอก 3 - 6 ซม. มีกลิ่นหอมแรง กลีบดอกและกลีบเลี้ยง สีครีมหรือสีขาว ปลายกลีบสีเหลืองจางหรือสีส้มอ่อน กลีบปากแต้มสีแสด มีขนปุย
ฤดูดอก :กุมภาพันธ์ - พฤษภาคม
แหล่งที่พบในประเทศไทย : พบตามป่าดิบเขา ที่สูงจากระดับน้ำทะเล 1,000 - 1,600 เมตร ทางภาคเหนือ
เขตการกระจายพันธุ์ : อินเดีย จีนตอนใต้ พม่า ลาว และเวียดนาม
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น