วันอังคารที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2551
รองเท้านารีเหลืองปราจีน
วงศ์ย่อย : Cypripedioideae
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Paphiopedilum concolor ( Lindl. ) Pfitzer
ชื่อสามัญไทย : รองเท้านารีเหลืองปราจีน
ต้น : ลำต้นสั้นแตกกอด้านข้าง มักพบขึ้นตามพื้นดิน
ใบ :ใบค่อนข้างหนา รูปขอบขนาน ปลายหยักมนไม่เท่ากัน ใบด้านบนเขียวแก่สลับเขียวอ่อน ด้านล่างมีลายประสีม่วงกระจาย แผ่นใบกางออกในแนวเกือบระนาบ ขนาดใบ กว้าง 2.5 - 3.5 ซม. ยาว 10 - 20 ซม.
ดอก : ช่อดอกออกที่ปลายยอด ก้านช่อดอกยาว 5 - 7 ซม. สีเขียวหรือเขียวอมม่วง มีขนสั้นนุ่ม จำนวนดอกในช่อ 1 - 3 ดอก กลีบเลี้ยงและกลีบดอกสีเหลืองอ่อน หรือเหลืองเข้ม มีจุดประสีม่วง หรือเลือดหมูกระจายทั่วทั้งดอก ผิวกลีบมีขนละเอียดนุ่ม ขนาดดอกกว้างประมาณ 4 - 7 ซม.
บางครั้งจะพบรองเท้านารีเหลืองปราจีนที่มีดอกสีเหลืองทั้งดอก ไม่มีจุดประ จะเรียก รองเท้านารีนารีเหลืองปราจีนเผือก ( Paph. concolor var.album )
ฤดูดอก : เกือบตลอดปี
แหล่งที่พบในประเทศไทย : พบตามภูเขาหินปูน ที่สูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 300 - 500 เมตร บริเวณป่าเบญจพรรณที่อยู่ใกล้ทะเล หรือลำธาร ในภาคกลาง ภาคตะวันออก ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคตะวันตก
เขตการกระจายพันธุ์ : จีนตอนใต้ พม่า ลาว กัมพูชา เวียดนาม
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น