วันอังคารที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2551

ลิ้นมังกร


วงศ์ย่อย : Orchidoideae
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Habenaria rhodocheila Hance
ชื่อไทย : ลิ้นมังกร
ชื่ออื่น : ปัดแดง สังหิน เฟิน
ต้น : เป็นกล้วยไม้ดิน มีหัวในดินแบบมันฝรั่ง ต้นบนดินสั้น
ใบ : ใบรูปรีแกมรูปขอบขนาน ปลายแหลม แผ่นใบบาง บางครั้งอาจพบแผ่นใบมีลาย ขอบใบมักจะเป็นคลื่นขนาน มีใบหลายใบเรียงตัวกระจายรอบต้น ขนาดใบกว้าง 1.5 - 2.5 ซม. ยาว 8 - 12 ซม.
ดอก : ช่อดอกออกจากปลายยอด ช่อดอกสูง 7 - 18 ซม. ดอกเกิดค่อนไปทางปลายช่อ จำนวนดอกในช่อ 3 - 15 ดอก ทยอยบานเป็นเวลา 1 - 2 สัปดาห์ ขนาดดอกกว้าง 1.5 - 2 ซม. ยาว 2 - 3 ซม. กลีบเลี้ยงบนเชื่อมติดกับกลีบดอกมีสีเขียว กลีบปากขนาดใหญ่ โคนกลีบเรียวเล็ก ด้านข้างเป็นแฉกแผ่ออกเป็นปีก ปลายกลีบแยกเป็นแฉกหางปลา มีสีค่อนข้างหลากหลาย เช่น สีเหลือง เหลืองอมส้ม สีแสด แสดอมแดง หรือชมพู
ฤดูดอก : สิงหาคม - ตุลาคม
แหล่งที่พบในประเทศไทย : ขึ้นตามซอกหิน บนหิน หรือตามที่ดินร่วนในป่าดิบ
เขตการกระจายพันธุ์ : จีน ลาว เวียดนาม มาเลเซีย และฟิลิปปินส์

ไม่มีความคิดเห็น: