วันอังคารที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2551

เอื้องคำหิน


วงศ์ย่อย : Epidendroideae
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Eria lasiopetala ( Willd ) Omerod
ชื่อพ้อง 1: Eria pubescens ( Hook) Steud.
2: Eria albidotomentosa ( Blume ) Lindl.
ชื่อไทย : เอื้องคำหิน
ชื่ออื่น : เอื้องบายศรี เอื้องคำขน
ต้น : เป็นกล้วยไม้อิงอาศัย ลำลูกกล้วยรูปกลมรี หรืออ้วนป้อม อวบน้ำ มักจะมีกาบใบหุ้ม เส้นผ่าศูนย์กลางต้น 2.5 - 3.5 ซม. สูง 4 - 7 ซม. เรียงตัวบนเหง้าห่างกัน 2 - 10 ซม.
ใบ : ใบรูปรีแกมรูปขอบขนาน แผ่นใบค่อนข้างหนา ใบมี 3 - 5 ใบต่อลำลูกกล้วย ใบเกิดใกล้ยอด ขนาดใบ กว้าง 2.5 - 4 ซม. ยาว 12 - 20 ซม.
ดอก : ช่อดอกเกิดจากแขนงที่จะเจริญเป็นหน่อใหม่ข้างหัวเดิม ยาว 15 - 30 ซม. ดอกในช่อโปร่ง ก้านดอกยาว 1.5 - 2 ซม. ขนาดดอกกว้างประมาณ 2 - 2.5 ซม. มีขนยาวนุ่มสีขาวคลุมผิวกลีบด้านนอกตลอดจนก้านดอก ใบประดับ แกนช่อและก้านช่อ กลีบเลี้ยงและกลีบดอกสีเขียวอ่อน กลีบปากมีลายปื้นสีน้ำตาลอมแดง เส้าเกสรสีเหลือง ดอกทยอยบานเป็นเวลานาน เป็นกล้วยไม้ที่เจริญได้ในถิ่นอาศัยหลายแบบ
ฤดูดอก : ตุลาคม - มกราคม
แหล่งที่พบในประเทศไทย : พบตามป่าดิบแล้ง และลานหินทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออก และภาคใต้
เขตการกระจายพันธุ์ : ประเทศในแถบเทือกเขาหิมาลัย จีนตอนใต้ มาเลเซีย และอินโดนีเซีย

ไม่มีความคิดเห็น: