วันอังคารที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2551
เอื้องตาลหิน
วงศ์ย่อย : Epidendroideae
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Eria discolor Lindl.
ชื่อไทย : เอื้องตาลหิน
ต้น : เป็นกล้วยไม้อิงอาศัย ลำลูกกล้วยเป็นหัวรูปรี โคนเรียวสอบและมีโคนกาบใบคลุม ปลายเรียว ผิวแห้งเป็นร่อง สีเขียวหม่นหรือเขียวอมน้ำตาล เส้นผ่าศูนย์กลางต้น 2 - 2.5 ซม. สูง 10 - 16 ซม. เรียงตัวบนเหง้าเป็นระยะห่างกัน 8 - 15 ซม. เหง้าเป็นเส้นกลมแข็ง เส้นผ่าศูนย์กลาง 0.4 - 0.6 ซม.
ใบ : ใบรูปรีแกมรูปขอบขนาน แผ่นใบค่อนข้างหนาและเหนียว ผิวใบมัน ปลายมนเว้าตื้นๆ มี 4 - 6 ใบต่อลำลูกกล้วย ใบเกิดใกล้ยอด ขนาดใบ กว้าง 3 - 4 ซม. ยาว 10 - 17 ซม.
ดอก : ช่อดอกออกตามข้อใกล้ยอด มี 2 - 5 ช่อ มีขนละเอียดสีน้ำตาลอ่อนตลอดช่อ ก้านและแกนช่อตรง ยืดตัวบานไปเรื่อยๆจนดอกบานหมด ทั้งช่อยาว 10 - 15 ซม. ดอกทยอยบานคราวละ 1 ดอก ใบประดับเล็กๆยังคงติดอยู่ที่แกนดอก ก้านดอกยาว 1.5 - 2 ซม. ขนาดดอกประมาณ 1.5 ซม. ผิวกลีบมีขนสั้นๆละเอียดคลุม กลีบปากสีม่วงแดงเข้ม
ฤดูดอก : มกราคม - เมษายน
แหล่งที่พบในประเทศไทย : ป่าดิบแล้งและป่าเบญจพรรณทางภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออก และภาคใต้
เขตการกระจายพันธุ์ : สิกขิม อินเดีย ลาว เวียดนาม มาเลเซีย และสุมาตรา
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น